แม่ริมโมเดล (Mae Rim Model)

โครงการ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็กโมเดล ด้วยเทคโนโลยีเกษตรสีเขียว (Green Agriculture Technology : AGT) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน

โครงการ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็กโมเดล ด้วยเทคโนโลยีเกษตรสีเขียว (Green Agriculture Technology : AGT) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน
        ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) เป็นชื่อเรียกถ่านที่ผลิตจากวัตถุดิบทางชีวมวล เพื่อใช้วัตถุประสงค์ทางสิ่งแวดล้อม หรือด้านการเกษตรสีเขียวแบบยั่งยืนส่วนใหญ่การเลือกใช้วัตถุดิบเพื่อการผลิตถ่านชีวภาพ จะมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากของเหลือใช้จากภาคการเกษตร เช่น เศษไม้ เปลือกผลไม้ ซังข้าวโพด ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนแนวคิด BCG โดยการหมุนเวียนเอาของเหลือทิ้งมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน หรือวัสดุปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มมูลค่า ถ่านชีวภาพสามารถผลิตโดยการเปลี่ยนองค์ประกอบของมวลชีวภาพให้สลายตัวด้วยความร้อนและเปลี่ยนไปอยู่ในแบบของคาร์บอนที่คงตัวผ่านกระบวนการให้ความร้อนในสถานที่ จํากัดแบบอับออกซิเจนหรือ ไพโลไลซิส (Pyrolysis) ที่มีการควบคุมการเผาเพื่อให้ได้ถ่านชีวภาพที่สามารถ ผลิตซ้ำๆ ได้โดยถ่านมีคุณสมบัติทีใกล้เคียงกัน โดยทั่วไปจะนําไปเผาที่อุณหภูมิในช่วง 300-500 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ใช้กันทั่วไปในการเผาไหม้หรือสันดาปชีวมวลถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ ทีผลิตขึ้นภายใต้การควบคุมปัจจัยที่เหมาะสมมีคุณสมบัติในการรักษาความชื้นในดินได้ดี โดยดูดความชื้นจากอากาศเก็บไว้ในตัวถ่านซึงความชื้นที่เหมาะสมนี้ สามารถเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ทีมีประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้ยังสามารถกักเก็บธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้นานขึ้นโดยไม่สูญเสียไปกับการพัดพาของน้ำอันเนื่องมาจากถ่านมีรูพรุน และยังช่วยเร่งการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้เร็วยิ่งขึ้น
        ถ่านไบโอชาร์มีประโยชน์อย่างไร
ประโยชน์ของถ่านชีวภาพ สามารถสรุปได้ 4 ประการหลักดังนี้
1. ช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เนื่องจากถ่านชีวภาพสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในระยะยาวได้ด้วยการกักเก็บคาร์บอนในดิน 
2. ช่วยปรับปรุงดินและผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากเมื่อนำถ่านชีวภาพลงดิน ลักษณะความเป็นรูพรุนของถ่านชีวภาพจะช่วยกักเก็บน้ำและอาหารในดิน และเป็นที่อยู่ให้กับจุลินทรีย์สำหรับทำกิจกรรมเพื่อสร้างอาหารให้ดิน เมื่อดินอุดมสมบูรณ์จะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น 
3. ช่วยผลิตพลังงานทดแทน เนื่องจากกระบวนการผลิตถ่านชีวภาพจากมวลชีวภาพด้วยการแยกสลายด้วยความร้อนจะให้พลังงานชีวภาพที่สามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อการขนส่งและในระบบอุตสาหกรรมได้ 
4. ช่วยในกระบวนการจัดการของเสียประเภทอินทรีย์วัตถุได้ เนื่องจากเทคโนโลยีไบโอชาร์มีศักยภาพในการกำจัดของเสียที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นมิตรได้
        คลิกดู VDO > เทคโนโลยีเตาเผาถ่านไบโอชาร์
20240307103633.jpg - โครงการ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็กโมเดล ด้วยเทคโนโลยีเกษตรสีเขียว (Green Agriculture Technology : AGT) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240307103634.jpg - โครงการ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็กโมเดล ด้วยเทคโนโลยีเกษตรสีเขียว (Green Agriculture Technology : AGT) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240307105532.jpg - โครงการ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็กโมเดล ด้วยเทคโนโลยีเกษตรสีเขียว (Green Agriculture Technology : AGT) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240307103633(1).jpg - โครงการ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็กโมเดล ด้วยเทคโนโลยีเกษตรสีเขียว (Green Agriculture Technology : AGT) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240307105301.jpg - โครงการ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็กโมเดล ด้วยเทคโนโลยีเกษตรสีเขียว (Green Agriculture Technology : AGT) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240307103636.jpg - โครงการ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็กโมเดล ด้วยเทคโนโลยีเกษตรสีเขียว (Green Agriculture Technology : AGT) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240307103635.jpg - โครงการ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็กโมเดล ด้วยเทคโนโลยีเกษตรสีเขียว (Green Agriculture Technology : AGT) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240307103635(1).jpg - โครงการ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็กโมเดล ด้วยเทคโนโลยีเกษตรสีเขียว (Green Agriculture Technology : AGT) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240307103636(1).jpg - โครงการ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็กโมเดล ด้วยเทคโนโลยีเกษตรสีเขียว (Green Agriculture Technology : AGT) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน | https://facagri.cmru.ac.th/web